12 คุณประโยชน์ และ สรรพคุณ แอสตาแซนธิน astaxanthin สาหร่าแดง

12 คุณประโยชน์ และ สรรพคุณ แอสตาแซนธิน Astaxanthin สาหร่ายแดง

     สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ชนิดหนึ่งในกลุ่มแซนโทฟิลล์ สามารถพบได้ในแหล่งธรรมชาติ ใน สภาพแวดล้อมทะเลไปจนถึงแอ่งหินทั่วไป รวมทั้งพบในเปลือกกุ้ง เปลือกปู และปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์  ซึ่งมีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยป้องกันการเกิด ออกซิเดชั่น ป้องกันการเสื่อมสภาพผิวจากแสงแดด และช่วยลด การอักเสบ นอกจากนี้สามารถพบแอสตาแซนธินได้ ในสาหร่ายพันธุ์ Haematococcus pluvialis ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่ง ที่มีแอสตาแซนธิน(Astaxanthin)มากที่สุดในธรรมชาติ และไม่ต่างกับ  แอสตาแซนธิน(Astaxanthin) ที่อยู่ในปลาแซลมอนและสัตว์ทะเลอื่น ๆ

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดใน สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ด้วยกัน มีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถปรับ ตัวเองอยู่ได้ทั้งส่วนที่เป็นไฮโดรฟิลิก (ชั้นน้ํา) และไฮโดรโฟบิก (ชั้นไขมัน) ได้ทั้ง 2 ส่วน ต่างกับเบต้าแคโรทีนที่จะอยู่ได้เฉพาะส่วนที่เป็นชั้น ไขมัน และวิตามินซีจะอยู่ได้เฉพาะส่วนที่เป็นชั้นน้ํา จึงมี คุณสมบัติที่เหนือกว่าในการป้องกันผนังเซลล์ซึ่งมีทั้งชั้นน้ําและไขมัน (Lipid bilayer) จากปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดชัน

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยกับกลุ่มอาสาสมัครผู้หญิงจํานวน 30 คน อายุเฉลี่ย 20-55 ปี โดยให้อาสาสมัครรับ  แอสตาแซนธิน(Astaxanthin) จาก Haematococcus pluvialis 6 มิลลิกรัมต่อวันควบคู่กับการใช้ครีมจากแอสตาแซนธิน(Astaxanthin) 2 มิลลิกรัม (สารละลาย 78.9 ไมโครโมล) หลังจากสัปดาห์ที่ 8 พบว่าริ้วรอยเหี่ยวย่นลดลง จุดด่างดําจากแสงแดดลดลง ความยืดหยุ่น ของผิวดีขึ้น มีความชุ่มชื้นดีขึ้นทั้งในผิวชั้นหนังกําพร้าและหนังแท้ เมื่อ มีการรับประทานร่วมกับการใช้ครีมบํารุงที่มี  แอสตาแซนธิน(Astaxanthin)

อีกงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Randomized double-blind placebo controlled study) ทดลองในกลุ่มผู้ชายใน ประเทศญี่ปุ่นจํานวน 36 คน อายุระหว่าง 20 – 55 ปี แบ่งอาสามัคร เป็น 2 กลุ่มเท่าๆ กัน คือกลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธิน(Astaxanthin)จาก Haematococcus pluvialis 6 มิลลิกรัม จํานวน 18 คน และกลุ่มหนึ่งที่ได้รับยา หลอก (placebo) จํานวน 18 คน หลังจากสัปดาห์ที่ 6 พบว่า กลุ่มที่รับประทานแอสตาแซนธิน(Astaxanthin) มีสุขภาพผิวโดยรวมดีขึ้น ดังนั้น การ รับประทานแอสตาแซนธินจึงช่วยทําให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้นได้ทั้งในเพศ หญิงและเพศชาย

นอกจากนี้ เนื่องจากแอสตาแซนธิน(Astaxanthin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มี คุณภาพสูง ยังมีงานวิจัยของแอสตาแซนธิน(Astaxanthin)ที่มีคุณประโยชน์ในด้าน อื่นๆ อีก เช่น เรื่องสายตา และการลดระดับไขมันในเลือดในผู้ที่มี น้ําหนักเกิน เป็นต้น

แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ทางด้านผลต่อสายตาและการมองเห็น

มีงานวิจัยของประเทศอิตาลี เป็นการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม โดยวัดความสามารถในการมองเห็น (visual acuity (VA), Contrast sensitivity (CS) and National Eye Institute visual function questionnaire (NEI VFQ-25) Scores) ของอาสาสมัครกลุ่มทดลองที่ รับประทานแอสตาแซนธิน 4 มก. ร่วมกับลูทีน 10 มก. ซีแซนทีน 1 มก.ต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่รับประทาน ติดตามผลเป็นเวลา สองปี พบว่า อาสาสมัครมีความสามารถในการมองเห็นดีขึ้นกว่ากลุ่ม ที่ไม่รับประทานอย่างมีนัยสําคัญ

สาหร่ายแดง แอสตาแซนธิน astaxanthin ป้องกันทางไขมันในเลือด

แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) กับผลทางด้านไขมันในเลือด

งานวิจัยของประเทศเกาหลี ทําการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมในผู้ ที่น้ําหนักเกิน โดยผู้รับการวิจัยและผู้รับการรักษาไม่ทราบว่ารับประทานแอสตาแซนธินหรือยาหลอก (Randomized, double-blind, placebocontrolled study) พบว่า การรับประทานแอสตาแซนธิน มีผลดีต่อระดับไขมันในเลือด โดยลดแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) ได้อย่างมีนัยสําคัญ และมีฤทธิ์ในการต้าน อนุมูลอิสระได้จริงในผู้ที่มี น้ําหนักเกิน

12 งานวิจัย การันตี สารสกัดจากสาหร่ายแดง

แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระ

แอสตาแซนธิน(Astaxanthin) สารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแซนโทฟิลล์ ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของแคโรทีนอยด์ สามารถเข้า ทําปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระได้ทั้งในชั้นน้ําและชั้นไขมัน สกัดจากสาหร่าย ฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิส เพาะเลี้ยงในระบบปิด ลิขสิทธิ์เฉพาะ Bio-Dome System

1)  แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงมาก

  • สูงกว่าวิตามินซี 6,000 เท่า
  • สูงกว่าวิตามินอี 1,000 เท่า
  • สูงกว่าโคเอนไซม์คิวเทน 800
  • สูงกว่าสารสกัดจากชาเขียว 560 เท่า
  • สูงกว่าอัลฟาไลโปอิก 75 เท่า
อ้างอิง: Nishida et al., 2007. Carotenoids Science USFDA Database for the Oxygen Radical Absorbance Capacity (ORAC) of Selected Foods, 2010 Release 2.
สาหร่ายแดง แอสตาแซนธิน astaxanthin เปรียบเทียบสารต้านอนุมูลอิสระ

2) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ช่วยลดน้ําหนัก

สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยลดน้ำหนัก โดยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน สามารถลด ไขมันได้ถึง 34% ใน 60 วัน

อ้างอิง: Ikeuchi et al., 2007 Biosci, Biotechnol. Biochem 71: 60521-7 Aoi et al. 2008 Biochem Biophys Res. Commun. 366: 892-897
สาหร่ายแดง แอสตาแซนธิน astaxanthin ช่วยลดน้ำหนัก

3) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ช่วยบํารุงผิวพรรณ

สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยบำรุงผิวพรรณ ให้สวย สดใส อ่อนวัยจากภายใน เพิ่มความ ชุ่มชื่น เพิ่มความเนียนนุ่ม เพิ่มความยืดหยุ่น ลดเลือนริ้วรอย จากงานวิจัยพบว่าอาสาสมัครที่รับประทานแอสตาแซนธินมีผิว พรรณที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นความชุ่มชื้น ความเนียนนุ่ม ความยืด หยุ่นดีขึ้น และริ้วรอยจางลง หลังรับประทาน 6 สัปดาห์ งานวิจัย อีกฉบับยังพบว่าแอสตาแซนธิน มีประสิทธิภาพในการลดเลือน ริ้วรอยให้แคบลงและตื้นขึ้น ในเวลา 8 สัปดาห์อีกด้วย

อ้างอิง: Yamashita E. 2006 Carotenoid Science. 10: 91-95 Tominaga et al. 2009 J. European Academy of Dermatology and Venerelogy 12: 103-114
สาหร่ายแดง แอสตาแซนธิน astaxanthin บำรุงผิว

4) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ช่วยลดการสร้างเม็ดสี 

สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยลดการสร้างเม็ดสี ทําให้ผิวขาวผุดผ่องขึ้น ลดเลือนรอยด่างดํา

อ้างอิง: Yamashita E. 2002 Food Style 21 (6): 112-117
สาหร่ายแดง แอสตาแซนธิน astaxanthin ยับยั้งการสร้างเม็ดสี

5) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ป้องกันการตีบตันของหลอดเลือด

สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยป้องกันการจีบตันของหลอดเลือก โดยป้องกันการทําลาย ผนังหลอดเลือดจากอนุมูลอิสระและป้องกัน LDL จากการจู่โจม ของอนุมูลอิสระ

อ้างอิง: Pashkow J. 2008 Am. J. Cardio 101: 580-680

6) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ลดความดันโลหิต

สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยลดความดันโลหิตโดยขยายหลอดเลือด และเพิ่มความยืดหยุ่น ให้ผนังหลอดเลือด

อ้างอิง: J. Clin, Biochem Nutr. 2009, 44(3):280-284
สาหร่ายแดง แอสตาแซนธิน astaxanthin ลดไขมันในเลือด

7) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ลดระดับน้ำตาลในเลือดในคนไข้เบาหวาน

สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในคนไข้เบาหวาน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยพบว่าปริมาณโปรตีนที่สูญเสียออกมาใน ปัสสาวะของคนไข้เบาหวาน กลับเป็นปกติเมื่อได้รับแอสตาแซนธิน

อ้างอิง: Manabe et al. 2008 J. Cell Biochem. 103: 1925-1937
สาหร่ายแดง แอสตาแซนธิน astaxanthin ลดระดับน้ำตาลในเลือด

8) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ป้องกันมะเร็ง ยับยั้งการเติบโต

สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยป้องกันมะเร็ง ยับยั้งการเติบโต และแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และป้องกันมะเร็งตับ

อ้างอิง: Nakao et al. 2010 Anticancer Research. 30(6): 2171-5

9) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ช่วยพิ่มความฟิตให้ร่างกาย

• เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ

• เร่งการเผาผลาญไขมัน

• เพิ่มความรู้สึกกระฉับกระเฉง แข็งแกร่งขึ้น สดชื่น มีชีวิตชีวา

• ลดอาการปวด เมื่อยล้าของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย

• กล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้อหัวใจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังการออก กําลังกาย และการทํางานหนัก

อ้างอิง: Tian Y et al. 2010 JAppl Physiol. 110: 971-976 Finaud J. 2006 Lac G Sport Med. 36(4) 327-358
สาหร่ายแดง แอสตาแซนธิน astaxanthin ความแข็งแกร่งทนทานของกล้ามเนื้อ

10) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ปกป้องกล้ามเนื้อทั่วไป 

สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยปกป้องกล้ามเนื้อทั่วไป และกล้ามเนื้อหัวใจไม่ให้อักเสบ และถูกทําลายขณะใช้งานหนักอย่างต่อเนื่อง

อ้างอิง: Aoi w et al. 2003 Antioxidants and Redox Signaling, 5(1): 139-144
สาหร่ายแดง-แอสตาแซนธิน-astaxanthin-การอักเสบของกล้ามเนื้อ

11) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ช่วยลดอาการเมื่อย และอ่อนล้าของกล้ามเนื้อตา ได้ถึง 54%

สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยลดอาการเมื่อย และอ่อนล้าของกล้ามเนื้อตา ได้ถึง 54% ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดและชาที่ศีรษะ คอ หลัง ไหล่ แขน มือ ลําตัว ตาแห้ง เคืองตา ปวดตา เมื่อยตา

อ้างอิง: Iwasaki and Tawara. 2006 J. of Eye. 6: 829-834 Nagaki et al. 2002
สาหร่ายแดง แอสตาแซนธิน astaxanthin ลดอาการเมื่อยล้าของตา

12) แอสตาแซนธิน ( Astaxanthin ) ปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหาร

สารสกัดจากสาหร่ายแดง หรือ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหาร ป้องกันการอักเสบและการเกิดแผลในกระเพาะอาหารป้องกัน และลดอาการของภาวะกรดไหลย้อน ป้องกันมะเร็งในกระเพาะอาหาร ควบคุมเชื้อเฮลิโดแบคเตอร์ ไพโลไร ในกระเพาะอาหาร ควบคุมเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์

อ้างอิง: Wang et al. 2000 Anti Microb Agents Chemother. 44(9): 252-7 Bennedsen et al. 1999 Immunol Let. 70(3): 185-9