ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์ว่า น้ำมันปลา หรือ Fish oil คือ หนึ่งในอาหารเสริมสุขภาพที่ให้ประโยชน์สูงสุดต่อ ผู้บริโภค ให้ผลดีมากในการลดไขมันในเลือด และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ โรคความดันสูง และโรคเบาหวาน
น้ำมันปลา หรือ Fish oil แตกต่างจากน้ํามันตับปลาอย่างไร ?
คนไทยเรารู้จัก “น้ำมันตับปลา” มาเป็นเวลานาน โดยใช้เป็น อาหารเสริมซึ่งมีวิตามินที่สําคัญคือ วิตามินเอ และ ดี น้ํามัน ตับปลาเป็นน้ํามันที่สกัดจากตับปลาทะเลบางชนิด อาทิเช่น ปลา คอด (COD) ส่วนน้ํามันปลาที่เราจะกล่าวถึงนี้ไม่ใช่น้ํามันตับปลา แต่เป็นน้ํามันที่สกัดมาจากส่วนหัวหรือเนื้อของปลาทะเล ในน้ํามัน ปลานี้จะอุดมไปด้วยกรดไขมันจําปืน (Essential Fatty Acid) ซึ่ง ร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เอง กรดไขมัน จําเป็นชนิดนี้เป็นกรดไขมันประเภทไม่อิ่มตัว มีชื่อเรียกว่า “ โอเมก้า-3 ” (Omega – 3) ซึ่งมีอยู่ในน้ํามันปลาเป็นปริมาณมาก
น้ำมันปลา หรือ Fish oil ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
น้ำมันปลาประกอบด้วยกรดไขมันจําเป็นประเภทโอเมก้า-3 อยู่ มาก ซึ่งในกลุ่มของโอเมก้า-3 นั้นเรายังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ที่สําคัญได้แก่1. กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid) หรือ DHA2. กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid) หรือ EPA
น้ำมันปลา หรือ Fish oil ช่วยลดไขมันในเลือดได้อย่างไร ?
จากการศึกษาพบว่า สามารถลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ได้ถึง 19-24 % แต่ไม่ลดโคเลสเตอรอล การที่น้ํามันปลาสามารถ ลดไขมันในเลือดได้นี้ เชื่อว่าเกิดจากที่ DHA/EPA ลดการสร้าง ไตรกลีเซอไรด์ลง โดยไปยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ในตับชื่อ Acyltransferase blax Phosphatidate phosphohydrolase นอกจากนี้น้ํามันปลายังช่วยเพิ่มปริมาณของ HDL (High density lipoprotein) ซึ่งจะทําให้มีการเก็บโคเลสเตอรอลในเลือดและผนัง หลอดเลือดกลับสู่ตับ และเปลี่ยนเป็นน้ําดีเพื่อขับออกนอกร่างกาย
น้ำมันปลา หรือ Fish oil ช่วยลดการบวมของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้อย่างไร ?
สาร DHA/EPA จะลดการสร้างโพรสตาแกลนดิน (Prosta Glandin) ชนิดลิวโคไตรอื่น (Leukotrienes) ซึ่งเป็นสารก่อการ อักเสบ (Proinfammatory Mediator) ทําให้สามารถลดการอักเสบ และบวมของข้อได้ จากการทดลองของ Tulleken และคณะ ได้ให้ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ (IRheumatoid Arthritis) รับประทานน้ํามันปลา 12 กรัม/วัน พบว่าการบวมของข้อ (Joint Swelling Index) รวมทั้ง การเคลื่อนไหวลําบากของข้อ (Duration of Morning Stiffness) ลดลง ซึ่งเราสามารถใช้น้ํามันปลาเป็นอาหารเสริมร่วมกับยาที่ใช้อยู่ เพื่อลดการบวมและการอักเสบของข้อได้
น้ำมันปลา หรือ Fish oil จะช่วยในโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ได้อย่างไร ?
น้ำมันปลาช่วยในโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน (Coronary Heart Disease) โดยกลไกของการจับตัวของเกล็ดเลือด ทําให้เลือด ไหลเวียนคล่องขึ้น จึงลดทั้งอุบัติการณ์การเป็นโรคนี้ และลดอัตรา การตีบซ้ําในผู้ที่เป็นโรคนี้แล้ว
สาร DHA ในน้ำมันปลา ช่วยบํารุงสมองได้อย่างไร ?
ในประเทศญี่ปุ่นช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผลงานวิจัยแสดงผล อย่างชัดเจนว่า สาร DHA ในน้ำมันปลานั้นมีส่วนสําคัญในการ พัฒนาสมอง โดยสาร DHA จะช่วยบํารุงสมองให้ทํางานดีขึ้น DHA ผ่านเข้าไปในสมองและเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาท ที่เรียกว่า Dendrite บริเวณของ Dendrite นี้จะทําหน้าที่ถ่ายทอด สัญญาณและผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ดังนั้นจึงมีการ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ DHA สารสำคัญจากน้ำมันปลา ที่ช่วยทํางานของสมอง
น้ำมันปลาประกอบด้วยกรดไขมันจําเป็น ประเภทโอเมก้า 3 อยู่ในปริมาณสูง ซึ่งในกลุ่มของโอเมก้า 3 นั้น มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2 ชนิดที่สําคัญ ได้แก่
1. กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก(Docosahexaenoic Acid)หรือ DHA
2. กรดไอโคซาเพ้นทาอีโนอิก(Eicosapentaenoic Acid) หรือ EPA
แหล่งของ DHA และ EPA ในธรรมชาติพบมากในปลาทะเล และสาหร่าย โดย EPA จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค หลอดเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ขณะที่ DHA มีความสําคัญต่อการ ทํางานของสมอง เพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผลงานวิจัยแสดงอย่างชัดเจนว่า สาร DHA ในน้ำมันปลามีส่วนสําคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงตั้งแต่แรกเกิดที่ต้องการ DHA ในปริมาณมากและ เพียงพอ เพื่อใช้ในการพัฒนาสมองได้อย่างเต็มที่ในวัยผู้ใหญ่
DHA จะผ่านเข้าไปในสมองและเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลาย ประสาทที่เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite) ซึ่งจะทําหน้าที่ถ่ายทอด สัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทําให้เกิดการ เรียนรู้และการจดจํา นอกจากนี้ DHA ยังมีความสําคัญต่อ ระบบประสาทตา และระบบการทํางานของสายตาอีกด้วย
DHA ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความจําเสื่อมชนิดที่ เป็นที่รู้จักกันดีคือ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคความจําเสื่อม โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองในส่วนที่ควบคุม การเรียนรู้และความจํา โรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และอัตราความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และ ไขมันในเลือดสูง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสําคัญที่อาจเกิดเซลล์สมองฝ่อเร็ว กว่าคนทั่วไป
ทราบหรือไม่?
ปกติแล้วน้ำมันปลาจะประกอบด้วยกรดไขมันหลัก 2 ชนิด คือ EPA และ DHA ซึ่งจะมีการปรับสัดส่วนของ EPA:DHA ให้เหมาะสมกับความต้องการที่แตกต่างกันน้ำมันปลาที่มีสัดส่วนของ EPA:DHA เป็น 3:2 เช่น มี EPA 180 มก. และ DHA 120 มก. จะเหมาะกับการดูแล สุขภาพโดยรวม ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด และหัวใจ ลดการอักเสบของข้อต่างๆ และบํารุงสมอง โดยรวม น้ำมันปลาที่มีสัดส่วนของ EPA:DHA เป็น 1:5 เช่น มี EPA 100 มก. และ DHA 500 มก. หรือ มี DHA มากกว่าสูตรปกติถึง 4 เท่า จะเน้นการส่งเสริมพัฒนาการ ทางสมอง เพิ่มการเรียนรู้และจดจํา รวมทั้งลดความเสี่ยง ต่อการเกิดอัลไซม์เมอร์อีกด้วย